4 ข้อที่ควรระวัง ถ้าอยากเป็นนักลงทุนอสังหา

ลงทุนอสังหา
ลงทุนอสังหา

เช็คความพร้อมก่อนลงทุนอสังหา ฯ สำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์มือใหม้ อาจกำลังไม่แน่ใจว่าการลงทุนวิธีนี้ยากไหม เห็นคนอื่นเค้าทำกันเราจะสามารถทำได้ไหม อสังหาริมทรัพย์เองก็เหมือนการลงทุนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงและต้องศึกษาพอสมควรก่อนเริ่มลงทุน แต่ก็เป็นการลงทุนที่น่าดึงดูดและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก

หากคุณกำลังสนใจการลงทุนอสังหาฯ และไม่รู้จะเริ่มยังไง ทางทีมงานจะขอนำเสนอข้อควรระวังสำหรับการลงทุนประเภทนี้กันก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเริ่มวางแผน เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด

การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งออกง่ายเป็น

1..การลงทุนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า ได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า

2.การซื้อมาในราคาที่ต่ำและต่อไปในราคาที่สูงกว่า

3.การลงทุนรับจำนองหรือรับขายฝาก เพื่อดอกเบี้ย

4 สิ่งที่ต้องระวังสำหรับ การลงทุนอสังหา ฯ

ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแอบแฝงที่เราไม่รู้

ค่าใช้จ่ายแฝงอาจเกิดขึ้นได้ 3ช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่ตอนที่เราซื้ออสังหาริมทรัพย์,ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นและขายออกไป แบ่งได้ดังนี้

  • ค่าทำนิติกรรมซื้อขาย ณ กรมที่ดิน ได้แก่ค่าธรรมเนียมการโอน(2%) ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ(3.3%) ค่าอากรหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งผู้จะซื้อและผู้จะขายต้องตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหน
  • ค่าใช้จ่ายระหว่างถือครอง ได้แก่ ค่าเสื่อมค่าซ่อมบำรุง ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
  • ค่านายหน้า กรณีมีนายหน้าช่วยเราในการหาผู้เช่ามาเช่าบ้าน คอนโด ที่ดินของเรา โดยส่วนใหญ่นายหน้ามักคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าหนึ่งเดือน

ควรรู้ว่าลูกค้าคือใคร การเติบโตในอนาคตเป็นอย่างไร

ผู้ลงทุนควรใช้เวลากับการศึกษาว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เราจะลงทุนเป็นทรัพย์สินที่ดี มีคนต้องการจะซื้อต่อในราคาที่สูงหรือมีความต้องการเช่าสูงแค่ไหน มีความเสี่ยงเรื่องกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่ โดยประเด็นที่มองข้ามไม่ได้เลยมีดังนี้

  • เรื่องฝังเมืองซึ่งบอกว่าอสังหาริมทรัพย์นี้อยู่ในเขตที่อนุญาตให้ทำอะไรบ้าง เช่นเกษตรกรรม โรงงาน การพาณิชย์หรือพักอาศัยเท่านั้น
  • การเติบโตในอนาคตเช่นจะมีถนนตัดผ่านหรือใหม่ จะมีโครงการใหญ่ของภาครัฐและเอกชนอะไรบ้างในอนาคต
  • กลุ่มลูกค้าที่อาจจะมาเป็นผู้เช่าของเราได้ในอนาคต เช่น คอนโดใกล้มหาวิทยาลัย อพาร์มเม้นท์ใกล้แหล่งงาน
  • ความน่าเชื่อถือของผู้พัฒนาโครงการ

ถ้าไม่มีผู้เช่า จะจัดการอย่างไร

Passive Income เป็นคำที่ดูเท่แต่ก็เป็นกับดักสำหรับคนที่ไม่รู้  แม้การลงทุนปล่อยเช่าเราจะไม่ต้องลงแรงมากเท่าการประกอบธุรกิจ แต่ก็มีหลายเรื่องที่ต้องจัดการ และความเสี่ยงที่ใหญ่ที่สุดสำหรับนักลงทุนที่กู้เงินธนาคารซื้อคอนโดปล่อยเช่าคือการหาลูกค้ามาเช่าห้องเราให้ต่อเนื่องที่ดิน ไม่ใช่เพียงรอเก็บเงินค่าเช่าเท่านั้น เพราะในความเป็นจริงมันง่ายแบบนั้น ผู้ลงทุนควรเผื่อแผนสำรองด้วยว่าบางเดือนที่ยังหาผู้เช่าไม่ได้สามารถหาเงินจากไหนมาผ่อนธนาคารหรือมีเงินสำรองให้ผ่อนได้กี่เดือน และเพื่อความรอบครอบในการคำนวณผลตอบแทนจากการเช่าควรคำนวณว่า1ปีจะมีผู้เช่าเพียงแค่11เดือนเท่านั้น

ดอกเบี้ยขาขึ้นและลอยเบี้ยลอยตัว

ประเทศไทยอยู่ช่วงภาวะดอกเบี้ยต่ำมาอย่างยาวนานทำให้การกู้เงินซื้ออสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่าเป็นเรื่องง่าย ผ่อนน้อย กู้ง่าย แต่ภาวะดอกเบี้ยต่ำอาจกำลังจะจบแล้ว

เวลาคำนวณค่าเช่าที่คาดว่าจะปล่อยเช่าได้กับค่างวดที่ต้องธนาคารควรเผื่อว่าดอกเบี้ยจะขึ้นสัก 0.5-1% ด้วย

ถ้าช่วงนี้เพื่อนๆคนไหนกำลังเตรียมจะกู้อสังหาริมทรัพย์เพื่อลงทุน ให้มองหาธนาคารที่ สามารถ FIXED ดอกเบี้ย 3 ปีแรกคงที่ได้ ก็จะสบายใจว่าเราสามารถล็อคดอกเบี้ยที่พึงพอใจได้อย่างน้อย3ปี

จากข้อมูลทั้งหมดนี้ เรานำมาจาก Finnotech เพื่อช่วยแนะนำผู้ลงทุนทั้งหน้าใหม่และหน้าเก่า ที่ชื่นชอบการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ ทางทีมงานขอให้ทุกคนศึกษาเยอะและสนุกไปกับการลงทุนอสังหาริมทรัพย์นะครับ