ผู้กู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์และอยากจำนองบ้านหรือขายฝากบ้านกับนายทุน ไม่ควรมองข้ามเรื่องค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน เพราะทั้งจำนองและขายฝากเป็นนิติกรรมที่มีค่าธรรมเนียมสูง หากให้ตอบสั้นๆเลยว่าจำนองหรือขายฝากค่าธรรมเนียมถูกกว่ากัน ตอบได้เลยว่าจำนอง แต่บางครั้งเราไม่สามารถเลือกว่าจะกู้ยืมโดยจำนอง หรือ ขายฝากเพราะขึ้นอยู่กับนายทุนหรือวงเงินขอสินเชื่อของผู้กู้ด้วยดังนั้นผู้กู้ยืมควรรู้ค่าธรรมเนียมทั้งหมดเพื่อเปรียบเทียบและวางแผนการเงินได้ด้วยตัวเองด้วยในขั้นตอนการเจรจา ค่าใช้จ่ายจำนองที่ดิน การจำนองไม่มีการโอนความเป็นเจ้าของหรือกรรมสิทธิไปยังผู้รับจำนอง ดังนั้นค่าธรรมเนียมจึงถูกกว่าการขายฝาก โดยคำนวณได้ดังนี้ ค่าจดจำนอง ชำระให้สำนักงานที่ดิน คิดเป็น 1% ของยอดจดจำนอง เช่น จำนอง 1ล้านบาท เสีย 10,000 บาท ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท ค่าอากรแสตมป์ 1บาทต่อทุกๆยอดจดจำนอง2,000 ค่าไถ่ถอนจำนอง เมื่อชำระหนี้จนครบแล้ว แปลงละ 50 บาท ข้อมูลจากเว็ปไซต์กรมที่ดิน ตัวอย่างเช่น จดจำนองที่ยอด1ล้านบาท จะเสียค่าจดจำนอง 10,000 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท + ค่าอากร 500 บาท รวม = 10,505 บาท…
Author Archives: adminhomedd4
เช็คความพร้อมก่อนลงทุนอสังหา ฯ สำหรับนักลงทุนอสังหาริมทรัพย์มือใหม้ อาจกำลังไม่แน่ใจว่าการลงทุนวิธีนี้ยากไหม เห็นคนอื่นเค้าทำกันเราจะสามารถทำได้ไหม อสังหาริมทรัพย์เองก็เหมือนการลงทุนประเภทอื่นที่มีความเสี่ยงและต้องศึกษาพอสมควรก่อนเริ่มลงทุน แต่ก็เป็นการลงทุนที่น่าดึงดูดและทำความเข้าใจได้ไม่ยาก หากคุณกำลังสนใจการลงทุนอสังหาฯ และไม่รู้จะเริ่มยังไง ทางทีมงานจะขอนำเสนอข้อควรระวังสำหรับการลงทุนประเภทนี้กันก่อน ซึ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นในการเริ่มวางแผน เพื่อลดความเสี่ยงให้ได้มากที่สุด การลงทุนอสังหาริมทรัพย์ อาจแบ่งออกง่ายเป็น 1..การลงทุนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์เพื่อปล่อยเช่า ได้รับผลตอบแทนเป็นค่าเช่า 2.การซื้อมาในราคาที่ต่ำและต่อไปในราคาที่สูงกว่า 3.การลงทุนรับจำนองหรือรับขายฝาก เพื่อดอกเบี้ย 4 สิ่งที่ต้องระวังสำหรับ การลงทุนอสังหา ฯ ค่าใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมแอบแฝงที่เราไม่รู้ ค่าใช้จ่ายแฝงอาจเกิดขึ้นได้ 3ช่วงเวลา เริ่มตั้งแต่ตอนที่เราซื้ออสังหาริมทรัพย์,ครอบครองอสังหาริมทรัพย์นั้นและขายออกไป แบ่งได้ดังนี้ ค่าทำนิติกรรมซื้อขาย ณ กรมที่ดิน ได้แก่ค่าธรรมเนียมการโอน(2%) ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ(3.3%) ค่าอากรหรือภาษีเงินได้นิติบุคคล ซึ่งผู้จะซื้อและผู้จะขายต้องตกลงกันว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายส่วนไหน ค่าใช้จ่ายระหว่างถือครอง ได้แก่ ค่าเสื่อมค่าซ่อมบำรุง ค่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ค่านายหน้า กรณีมีนายหน้าช่วยเราในการหาผู้เช่ามาเช่าบ้าน คอนโด ที่ดินของเรา โดยส่วนใหญ่นายหน้ามักคิดค่าคอมมิชชั่นเป็นจำนวนเงินเท่ากับค่าเช่าหนึ่งเดือน ควรรู้ว่าลูกค้าคือใคร การเติบโตในอนาคตเป็นอย่างไร ผู้ลงทุนควรใช้เวลากับการศึกษาว่าอสังหาริมทรัพย์ที่เราจะลงทุนเป็นทรัพย์สินที่ดี มีคนต้องการจะซื้อต่อในราคาที่สูงหรือมีความต้องการเช่าสูงแค่ไหน มีความเสี่ยงเรื่องกฎหมายต่างๆที่เกี่ยวข้องหรือไม่ โดยประเด็นที่มองข้ามไม่ได้เลยมีดังนี้ เรื่องฝังเมืองซึ่งบอกว่าอสังหาริมทรัพย์นี้อยู่ในเขตที่อนุญาตให้ทำอะไรบ้าง เช่นเกษตรกรรม โรงงาน การพาณิชย์หรือพักอาศัยเท่านั้น การเติบโตในอนาคตเช่นจะมีถนนตัดผ่านหรือใหม่…
1.อัตราดอกเบี้ย ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดห้ามไม่ให้ผู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ถ้าสัญญาใดที่ให้เสียดอกเบี้ยเกิน 15%ต่อปี ให้ถือว่าดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จะคิดดอกเบี้ยไม่ได้เลย ลูกหนี้ใช้คืนเฉพาะต้นเงิน รายละเอียดกฎหมาย ข้อสังเหตุ 1.1แม้ดอกเบี้ยที่คิดในสัญญาไม่เกิน15%ต่อปี แต่ถ้ามีการคิดดอกเบี้ยทบต้นหรือเบี้ยปรับกรณีไม่ชำระดอกเบี้ยให้ตรงวันที่ต้องชำระ แล้วการคิดดอกเบี้ยทบต้นหรือค่าปรับนั้นรวมกันเกินร้อยละ15ต่อปี ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกิน ลูกหนี้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยทั้งหมดเลยก็ได้ 1.2 ถ้าสัญญานั้นมีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้กู้ยืมได้ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ผิดกฎหมายไปแล้ว จะเรียกคืนดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการชำระตามอำเภอใจ ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 “บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่” 2.การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า การจำนองกับบุคคลธรรมดามักมีการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า 3 – 6 เดือน เพื่อประกันการชำระดอกเบี้ย ทำให้ผู้กู้ได้รับเงินกู้น้อยลง ข้อตกลงนี้ ผู้กู้จะต้องต่อรองกับนายทุนเอาเองว่าจะให้หักมากน้อยเพียงไร เพราะการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า เป็นธรรมเนียมปฎิบัติสำหรับการกู้นอกระบบอยู่แล้ว คำแนะนำของเราคือให้ลูกหนี้พยายามต่อรองไม่ให้ถูกหักเกิน3เดือน ข้อสังเหตุ ตามกฎหมายการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า ถือว่าเจ้าหนี้ส่งมอบเงินที่ให้ยืมไม่ครบถ้วน จะมีผลสมบูรณ์เป็นการกู้ยืมเงินจำนวนเฉพาะที่ส่งมอบจริง เช่นกู้ยืม1,000,000 บาท ตกลงคิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี คิดเป็นดอกเบี้ยเดือนละ 12,500 บาท ในวันทำสัญญาเจ้าหนี้หักไป 3 เดือนเป็นเงิน 37,500…
การจำนอง ความหมาย จำนอง หมายถึง สัญญาซึ่งบุคคลหนึ่งเรียกว่า ผู้จำนองเอาทรัพย์สินตราไว้แก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับจำนอง เป็นประกันการชำระหนี้ โดยไม่ส่งมอบทรัพย์สินนั้นให้แก่ผู้รับจำนอง