Tag Archives: ขายฝาก

เปรียบเทียบค่าธรรมเนียม ”ขายฝาก” กับ ”จำนอง” ผู้กู้เลือกแบบไหนดีกว่า

จำนองหรือขายฝาก ค่าธรรมเนียมถูกกว่ากัน

ผู้กู้ที่มีอสังหาริมทรัพย์และอยากจำนองบ้านหรือขายฝากบ้านกับนายทุน ไม่ควรมองข้ามเรื่องค่าธรรมเนียม ณ กรมที่ดิน เพราะทั้งจำนองและขายฝากเป็นนิติกรรมที่มีค่าธรรมเนียมสูง หากให้ตอบสั้นๆเลยว่าจำนองหรือขายฝากค่าธรรมเนียมถูกกว่ากัน ตอบได้เลยว่าจำนอง แต่บางครั้งเราไม่สามารถเลือกว่าจะกู้ยืมโดยจำนอง หรือ ขายฝากเพราะขึ้นอยู่กับนายทุนหรือวงเงินขอสินเชื่อของผู้กู้ด้วยดังนั้นผู้กู้ยืมควรรู้ค่าธรรมเนียมทั้งหมดเพื่อเปรียบเทียบและวางแผนการเงินได้ด้วยตัวเองด้วยในขั้นตอนการเจรจา ค่าใช้จ่ายจำนองที่ดิน การจำนองไม่มีการโอนความเป็นเจ้าของหรือกรรมสิทธิไปยังผู้รับจำนอง ดังนั้นค่าธรรมเนียมจึงถูกกว่าการขายฝาก โดยคำนวณได้ดังนี้ ค่าจดจำนอง ชำระให้สำนักงานที่ดิน คิดเป็น 1% ของยอดจดจำนอง เช่น จำนอง 1ล้านบาท เสีย 10,000 บาท ค่าคำขอ แปลงละ ๕ บาท ค่าอากรแสตมป์ 1บาทต่อทุกๆยอดจดจำนอง2,000 ค่าไถ่ถอนจำนอง เมื่อชำระหนี้จนครบแล้ว แปลงละ 50 บาท ข้อมูลจากเว็ปไซต์กรมที่ดิน ตัวอย่างเช่น จดจำนองที่ยอด1ล้านบาท จะเสียค่าจดจำนอง 10,000 บาท + ค่าคำขอ 5 บาท + ค่าอากร 500 บาท     รวม = 10,505 บาท…

จำนองบ้านกับบริษัทดีไหม

จำนองบ้านกับบริษัท

1.อัตราดอกเบี้ย  ตามพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พ.ศ. ๒๕๖๐ กำหนดห้ามไม่ให้ผู้ให้กู้เรียกดอกเบี้ยเกินร้อยละ15 ต่อปี ถ้าสัญญาใดที่ให้เสียดอกเบี้ยเกิน 15%ต่อปี ให้ถือว่าดอกเบี้ยเป็นโมฆะ จะคิดดอกเบี้ยไม่ได้เลย ลูกหนี้ใช้คืนเฉพาะต้นเงิน รายละเอียดกฎหมาย  ข้อสังเหตุ 1.1แม้ดอกเบี้ยที่คิดในสัญญาไม่เกิน15%ต่อปี แต่ถ้ามีการคิดดอกเบี้ยทบต้นหรือเบี้ยปรับกรณีไม่ชำระดอกเบี้ยให้ตรงวันที่ต้องชำระ แล้วการคิดดอกเบี้ยทบต้นหรือค่าปรับนั้นรวมกันเกินร้อยละ15ต่อปี ให้ถือว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมายห้ามเรียกดอกเบี้ยเกิน ลูกหนี้ไม่ต้องชำระดอกเบี้ยทั้งหมดเลยก็ได้ 1.2 ถ้าสัญญานั้นมีการคิดดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด แต่ผู้กู้ยืมได้ชำระดอกเบี้ยในอัตราที่ผิดกฎหมายไปแล้ว จะเรียกคืนดอกเบี้ยที่ผิดกฎหมายไม่ได้ เพราะถือว่าเป็นการชำระตามอำเภอใจ ทั้งนี้ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 407 “บุคคลใดได้กระทำการอันใดตามอำเภอใจเหมือนหนึ่งว่าเพื่อชำระหนี้โดยรู้อยู่ว่าตนไม่มีความผูกพันที่จะต้องชำระ ท่านว่าบุคคลผู้นั้นหามีสิทธิจะได้รับคืนทรัพย์ไม่” 2.การหักดอกเบี้ยล่วงหน้า  การจำนองกับบุคคลธรรมดามักมีการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า 3 – 6 เดือน เพื่อประกันการชำระดอกเบี้ย ทำให้ผู้กู้ได้รับเงินกู้น้อยลง ข้อตกลงนี้ ผู้กู้จะต้องต่อรองกับนายทุนเอาเองว่าจะให้หักมากน้อยเพียงไร เพราะการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า เป็นธรรมเนียมปฎิบัติสำหรับการกู้นอกระบบอยู่แล้ว คำแนะนำของเราคือให้ลูกหนี้พยายามต่อรองไม่ให้ถูกหักเกิน3เดือน ข้อสังเหตุ ตามกฎหมายการหักดอกเบี้ยล่วงหน้า ถือว่าเจ้าหนี้ส่งมอบเงินที่ให้ยืมไม่ครบถ้วน จะมีผลสมบูรณ์เป็นการกู้ยืมเงินจำนวนเฉพาะที่ส่งมอบจริง เช่นกู้ยืม1,000,000 บาท ตกลงคิดดอกเบี้ย 15% ต่อปี คิดเป็นดอกเบี้ยเดือนละ 12,500 บาท ในวันทำสัญญาเจ้าหนี้หักไป 3 เดือนเป็นเงิน 37,500…